รู้จัก ประตูกั้นคน แบบ ประตูปีกผีเสื้อ หรือไม่ คืออะไร

ประตูกั้นคน แบบ ประตูปีกผีเสื้อ สามารถเรียกตามชื่อภาษาอังกฤษว่า Flap Barrier หรือ Flap Gate ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับกั้นคนบริเวณทางเข้า-ออก สถานที่ต่าง ๆ โดยตัวประตูปีกผีเสื้อนั้น ผลิตมาจากสแตนเลส เช่นเดียวกับประตูกั้นคนแบบอื่น ๆ
ประตูปีกผีเสื้อ จะมีตัวปีกผีเสื้อที่กั้นคนยื่นออกมาจากตัวถัง มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ จึงเรียกตามลักษณะนั้น โดยตัวปีกจะยื่นออกมาเพียงด้านเดียว และ สามารถดึงเก็บเข้าในตัวถัง เพื่อให้คนผ่านเข้า – ออกได้
โดยทั่วไปแล้ว ปีกผีเสื้อนั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งเป็นแบบสี และ แบบใส หากเป็นแบบปีกผีเสื้อใสนั้นจะพบได้บ่อยในทางเข้า – ออก บริเวณลิฟต์ที่อาคารสำนักงานใหญ่ ส่วนปีกผีเสื้อแบบสีนั้น จะพบได้บ่อยที่สถานีรถไฟฟ้านั่นเอง โดยบริเวณรถไฟฟ้านั้นจะใช้ร่วมกับระบบทาบบัตร เพื่อเป็นคำสั่งในการเปิด – ปิดปีกผีเสื้อ

ลักษณะการทำงานของประตูปีกผีเสื้อ

[IMG]

เนื่องจากประตูกั้นคน แบบประตูปีกผีเสื้อนี้ นิยมใช้กันมากในสถานีรถไฟฟ้าทั่วไป ดังนั้นจึงขออธิบายการทำงานของประตูปีกผีเสื้อในระบบของรถไฟฟ้าให้เข้าใจหลักการทำงานของระบบ
ประตูปีกผีเสื้อนั้นสามารถใช้ได้กับเครื่องทาบบัตร และ สแกนนิ้วต่าง ๆ ซึ่งระบบสถานีรถไฟฟ้าต่างๆ นั้นใช้งานร่วมกับ ระบบทาบบัตร การทำงานของประตูปีกผีเสื้อจึงเริ่มจากการทาบบัตรนั้นก่อน เมื่อเราซื้อบัตรที่ใช้เป็นบัตรผ่านประตูเข้าไปขึ้นรถแล้ว ก็ให้นำมาทาบกับบริเวณที่เครื่องอ่านบัตรติดตั้งอยู่ในตัวประตูปีผีเสื้อ จากนั้นระบบจะอ่านค่าจากบัตรและตรวจสอบ และสั่งการไปที่มอเตอร์ให้มอเตอร์สั่งการให้ดึงปีกผีเสื้อเข้ามาเพื่อให้คนผ่านเข้าไป เมื่อคนผ่านตัวเครื่องและพ้นเซนเซอร์การตรวจจับแล้ว ปีกผีเสื้อก็จะกลับออกมากั้นคนต่อไปเช่นเดิม ในการออกจากสถานีก็มีกระบวนการทำงานเช่นเดียวกัน และกระบวนการทำงานก็จะวนไปเช่นเดิมตามที่ได้กล่าวมา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *