แผงกั้นพลาสติก (Road Water Barrier) รุ่น DSM-004 เป็นอย่างไร

    แผงกั้นพลาสติก (Road Water Barrier) เป็นแบริเออร์อย่างหนึ่ง ที่ใช้น้ำในการบรรจุ เพื่อเป็นการป้องกันแรงปะทะจากการชน หรือ แรงกระแทกต่าง ๆ นอกจากนี้แผงกั้นแบริเออร์นี้ยังมีไว้เพื่อเป็นการว่างให้เห็นถึงช่องทางจราจร

แผงกั้นพลาสติก (Road Water Barrier) รุ่น DSM-004 คือ

แผงกั้นพลาสติก (Road Water Barrier)

    แผงกั้นพลาสติก รุ่น DSM-004 เป็นรุ่นที่มีส่วนด้านบนกว้างเพียง 8 เซ็นติเมตร เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่สวยงามซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่ ที่ต้องการล้มแผงกั้นบ่อยๆ เนื่องจากมีฐานที่ที่กว้างกว่าด้านบนเป็นอย่างมากซึ่งมีความกว้างฐานอยู่ที่ 26 เซนติเมตร และเป็นรุ่นมีเล็ก ยาวเพียง 1.2 เมตร สูง 60 เซนติเมตร สามารถยกขึ้นลงได้อย่างง่ายดาย

เสาล้มลุก เป็นอุปกรณ์สำหรับอะไร

   อุปกรณ์จราจร นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมาช่วยผู้ขับขี่ให้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย ซึ่งก็มีอุปกรณ์จราจรหลากหลายชนิดมากมาย แต่วันนี้เราจะมาแนะนำตัวเสาล้มลุกที่เป็นอุปกรณ์จราจรชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการใช้รถใช้ถนนให้ได้รู้จักกัน

เสาล้มลุก คือ

เสาล้มลุก

   เสาล้มลุก เป็นเสาที่รองรับแรงกระแทกได้อย่างดี เนื่องจากมีความยืดหยุ่น ทำให้สามารถกลับสู่สภาพเดิมเมื่อถูกทับหรือชน เป็นเสาที่ติดตั้งง่าย และเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่ ทำให้มีการติดตั้งตามระบบลานจอดรถ หรือป้อมยามทางเข้าออก และพบเห็นได้ใกล้กับตาม ไม่กั้นรถยนต์การติดตั้งจะติดตั้งเป็นแนวเรียงกัน ทำให้รถต้องชะลอเวลาเข้า-ออกตามอาคาร บริเวณป้อมจราจร เพื่อจัดระเบียบรถที่มีการเข้า-ออก ถือว่าเป็นอุปกรณ์เสริมที่สำคัญอย่าหนึ่งที่ต้องใช้ควบคู่กับ ระบบลานจอดรถ เพื่อการใช้งานระบบได้อย่างมีระสิทธิภาพ
   เนื่องด้วยเสาล้มลุกจราจรมีความยืดหยุ่นจากวัสดุจากพลาสติก ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่รถชนเข้ากับเสานั้น เสาจราจรล้มลุกจะล้มลงไปกับถนน ทำให้รถยนต์ไม่มีรอยขีดข่วนมากนัก และ เมื่อรถยนต์พ้นจากเสาจราจรล้มลุกแล้ว เสาก็จะเด้งกลับ และคืนตัวกลับมาอย่างเดิมด้วย นอกจากนี้ เสาล้มลุก เป็นอุปกรณ์แบ่งเขตถนน และ พื้นที่ห้ามสัญจร และ ยังมีสีที่มองเห็นอย่างชัดเจนด้วย จึงทำให้ลดการเกิดอุบัติเหตุได้ในระหนึ่งเลยทีเดียว

หมุดถนนสะท้อนแสง มีประเภทใดบ้าง

   หมุดถนนสะท้อนแสง เป็นอุปกรณ์จราจรประเภทหนึ่ง ที่ใช้กันอยู่ตามท้องถนนนั่นเอง ซึ่งก็มี 2 รูปแบบ คือ หมุดถนนสะท้อนแสงแบบมีเดือย และ  หมุดถนนสะท้อนแสงแบบไม่มีเดือย นั่นเองไปดูกันว่าทั้ง 2 แบบนั้นมีลักษณะอย่างไรกันบ้าง

ประเภทของ หมุดถนนสะท้อนแสง

หมุดถนนสะท้อนแสง

– หมุดถนนสะท้อนแสง โซล่าเซลล์สี่เหลี่ยม มีเดือย คือ หมุดสะท้อนแสงโซล่าเซลล์ มีสีขาว เหลือง แดง และน้ำเงิน รับน้ำหนักได้มากกว่า 20 ตัน ผลิตจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ เดือยใหญ่ ติดตั้งแน่น คงทน เหมาะกับถนนที่มีรถขับผ่านเยอะ

– หมุดถนนสะท้อนแสง โซล่าเซลล์สี่เหลี่ยม ไม่มีเดือย คือ หมุดสะท้อนแสงโซล่าเซลล์ มีสีขาว เหลือง แดง และน้ำเงิน สินค้ามีในสต๊อคไม่ต้องรอ รับน้ำหนักได้มากกว่า 20 ตันผลิตจากอลูมินัมอัลลอยด์ สามารถใช้กาวอีพ็อกซี่ติดตั้งโดยไม่ต้องเจาะพื้นถนน หรือพื้นที่ติดตั้ง หรือเพิ่มการยึดติดด้วยน็อต 2 ตัวด้านข้าง ติดตั้งง่ายได้ด้วยตัวเอง หมุดสะท้อนแสงโซล่าเซลล์สี่เหลี่ยมไม่มีเดือยจะมีขนาด 103x103x22 มิลลิเมตร และมีน้ำหนัก 320กรัม

ความเป็นมาของ สัญญาณไฟจราจร เป็นอย่างไร

สัญญาณไฟจราจร นั้นก็คือ สัญญาณที่บังคับให้รถที่ขับขี่อยู่นั้นปฏิบัติตาม เพื่อให้การใช้รถใช้ถนนเป็นระเบียบมากขึ้น และ ช่วยในการลดอุบัติเหตุอีกด้วย ซึ่ง ไฟจราจร นั้นก็มีประวัติความเป็นมาเช่นกัน เป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันเลย

ความเป็นมาของ สัญญาณไฟจราจร

ไฟจราจร

สัญญาณไฟจราจรกำเนิดเกิดขึ้นแห่งแรกที่ประเทศอังกฤษ ในปี 1868 เกิดขึ้นก่อนที่ผู้คนจะรู้จักกับรถที่ใช้กับเครื่องยนต์เสียอีก โดยผลงานเป็นของนักวิศวกรชาวอักฤษ นามว่า เจ.พี ไนต์ จุดประสงค์ของ ไนต์ คือการควบคุมการสัญจรของรถม้า และ ผู้คนเดินไปมาตามสีแยก ไฟจราจรจะดูแปลกตาหากเทียบกับปัจจุบัน

ต่อมาสัญญาณไฟจราจรได้มีการพัฒนาเรื่อยๆมากระทั่ง ไฟเขียว-ไฟแดง แบบใช้พลังงานไฟฟ้าแห่งแรกเกิดขึ้นที่เมือง ซอลต์เลก ซิตี้ รัฐยูท่าห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี คศ.1912 โดยพนักงานตำรวจ นามว่า เลสเตอร์ ไวร์ เป็นผู้ผลิตขึ้น

ในช่วงแรกจะมีแค่ ไฟเขียว-ไฟแดงเท่านั้น จนในปี คศ. 1920 วิลเลี่ยม พอตต์ นายตำรวจเมือง ดีทรอยต์ ได้ออกแบบสัญญาไฟอีกสีหนึ่งขึ้นมา คือสีเหลืองเพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ขับขี่ระวังและชะลอตัวก่อนหยุด หรือ ออกตัว นั่นเอง และอีกไม่กี่ปี สัญญาณไฟจราจรแบบอัตโนมัติก็ถูกผลิตขึ้นโดย การ์แรตต์ มอร์แกน ซึ่งนำมาใช้เป็นครั้งแรกในเมืองเคลฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ก่อนที่จะแพร่หลายทั่วโลกและใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

กรวยจราจร มีความเป็นมาอย่างไร

อุปกรณ์จราจร เป็นอุปกรณ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อให้ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนน ซึ่งก็มีหลากหลายประเภท ทั้ง ยางชะลอความเร็ว ที่แต่เดิมใช้เป็นปูนซีเมนต์เทให้เป็นเนิน เพื่อเป็นลูกระนาด หรือ จะเป็นยางกั้นล้อรถ ที่มีกั้นล้อรถในเวลาที่จอดตามลานจอดรถต่าง ๆ เป็นต้น และอุปกรณ์จราจรอีกอย่างที่เราพบเห็นได้บ่อย ๆ คือ กรวยจราจร นั่นเอง มีไว้สำหรับวางเป็นช่องทาง ให้ผู้ขับขี่ได้ทราบ ก่อนอื่นเราไปดูกันก่อนว่า กรวยจราจรนั้นมีที่มาอย่างไร

ความเป็นมาของ กรวยจราจร

กรวยจราจร

กรวยจราจร (traffic cone) เกิดขึ้นในปี 1940 หรือประมาณ 74 ปีก่อน โดยชาวอเมริกา Charles D. Scanlon โดยเขาทำงานเป็นพนักงานทาสีถนนให้กับเมืองลอสแองเจลิส เพราะการเป็นพนักงานทาสีนี่เอง ที่ทำให้ Scanlon ต้องใช้เครื่องหมายบอกคนใช้ถนนว่าสียังไม่แห้ง ภายหลัง Scanlon ยื่นขอสิทธิบัตร กรวยจราจร นี้ในชื่อ “Safety marker” และได้รับสิทธิบัตรในปี 1943 ได้หมายเลขสิทธิบัตร US2333273 กรวยยุคเริ่มแรกนั้นรีไซเคิลมาจากแกนใยถักในยางรถยนต์ ส่วนที่เน้นเป็นพิเศษในกรวยยุคแรกคือฐานของกรวยนั้นต้องเป็นลูกกลมยกให้ตัวฐานกว้างสูงขึ้นจากพื้นเล็กน้อย เพื่อให้วางทับเส้นถนนที่เพิ่งทาสีได้ แนวทางการออกแบบนี้เริ่มหายไปในยุคหลังเพราะเราใช้กรวยมากั้นถนนในเหตุการณ์อื่นๆ นอกจากการทาสีถนนแล้ว

อุปกรณ์จราจร ชนิด ป้ายจราจร คืออะไร

    อุปกรณ์จราจร นั้น มีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น กรวยจราจร , ยางชะลอความเร็ว , แผงกั้นจราจรบรรจุน้ำ , ไฟสะท้อนแสงรั้วถนน และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่ง ป้ายจราจร ก็เป็นอุปกรณ์จราจรอย่างหนึ่งเช่นกัน วันนี้เราจะมาดูกันว่าป้ายจราจรนั้นคืออะไร

อุปกรณ์จราจร ชนิด ป้ายจราจร คือ

ป้ายจราจร

     ป้ายจราจร หรือเครื่องหมายจราจร (Traffic Sign) เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยของอุปกรณ์จาจร ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ทางจราจรที่ใช้ในการควบคุมการจราจร มักเป็นสัญญาณแสงหรือป้าย มักมีจุดประสงค์เพื่อ กำหนดบังคับการเคลื่อนตัวของจราจร การจอด หรืออาจเป็นการเตือน หรือแนะนำทางจราจร ซึ่งแบ่งได้เป็น 3ประเภทหลักคือ เครื่องหมายจราจร ป้ายเตือน,เครื่องหมายจราจร ป้ายบังคับ,เครื่องหมายจราจร ป้ายแนะนำ ซึ่งแต่ละประเภทสามารถจำแนกได้ดีเป็นจำนวนอีกหลายร้อยป้าย

     โดยทั่วไปลักษณะป้ายจราจร จะมีลักษณะต่างกันไปตามข้อกำหนดมาตรฐานสากล ซึ่งรูปแบบและสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น รูปแบบ ตัวเลข สี ขอบป้าย จะมีความหมาย และสื่อถึงประเภทและการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยตัวป้ายมักจะทำจากแผ่นอลูมิเนียม ที่จะมีน้ำหนักเบา ไม่ขึ้นสนิม โดยความหนาของแผ่นอลูมิเนียมที่นิยมใช้ ก็จะมีตั้งแต่ 1 มม. ขึ้นไป แต่ที่นิยมมากที่สุดคือความหนา 2 มม. ทั้งนี้ความหนา ของแผ่นอลูมิเนียมก็ขึ้นอยู่กับขนาดของป้ายด้วย โดยป้ายที่มีขนาดใหญ่ก็จะมีความหนาเพิ่มขึ้น

สถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้ง ยางชะลอความเร็ว มีที่ใดบ้าง

สถานที่ที่เหมาะกับการติดตั้ง ยางชะลอความเร็ว

ยางชะลอความเร็ว ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี ทนทาน และ ราคาย่อมเยา ผลิตจากยางธรรมชาติ และ ยางสังเคราะห์  เพื่อเพิ่มความทนทานให้กับตัวยางชะลอความเร็วรถมีดอกยางที่ลึก สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกได้ สามารถทนทานต่อสภาพอากาศ เช่น ความร้อน และ แรงกดทับได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับการใช้งานหนัก ( Heavy Duty ) ได้เป็นอย่างดี ง่ายต่อการดูแลรักษา และ การติดตั้ง เหมาะสำหรับติดตั้งในทุก ๆ สถานที่

ยางชะลอความเร็ว

– โรงพยาบาล
– โรงเรียน
– ที่จอดรถ
– ตามท้องถนนต่าง ๆ
– หมู่บ้าน
– บริเวณก่อนทางม้าลาย
– ทางเข้าอาคารจอดรถในห้างสรรพสินค้า หรือ อาคารบริษัทต่างๆ
ยางชะลอความเร็วช่วยลดอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคคลที่สัญจรในบริเวณนั้น ซึ่งยางชะลอความเร็ว นั้นมีแถบสะท้อนแสงชนิดเม็ดทับทิม ที่ติดตั้งด้วยตัวยางทั้งสองหน้า และ มีสีโดนเด่น ทำให้สามารถมองเห็นได้ในช่วงเวลากลางคืน

สัญญาณไฟจราจรคนข้าม มีลักษณะการทำงานอย่างไร

สัญญาณไฟจราจรคนข้าม เป็นอุปกรณ์ ไฟจราจร สำหรับแสดงสัญญาณเพื่อบอกให้ผู้ใช้ข้ามถนนนั้น สามารถเดินผ่านข้ามถนนไปได้ จะเห็นได้ตามทางข้ามถนนหรือทางม้าลายทั่วไป ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้ใช้ถนนนั้นสามารถตัดสินใจในการข้ามถนนได้ง่ายขึ้น และปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งสัญญาณไฟนี้ก็จะแสดงให้เข้าใจได้ง่าย คือ สัญญาณไฟคนเดินสีแดง แสดงว่าไม่สามารถข้ามได้ ส่วนสัญญาณไฟคนเดินสีเขียว แปลว่าเราสามารถข้ามถนนในตรงนั้นได้นั่นเอง

ลักษณะการทำงานของสัญญาณไฟจราจรคนข้าม

สัญญาณไฟจราจร

– ความยาวคลื่นแสง หลอด LED สัญญาณไฟข้ามถนนสีแดง : 615-650 นาโนเมตร

– ความยาวคลื่นแสง หลอด LED สัญญาณไฟข้ามถนนสีเขียว :500-509 นาโนเมตร

– ความเข้มแสง หลอด LED สัญญาณไฟข้ามถนนสีแดง 5,400 แคนเดลลา/ตารางเมตร

– ความเข้มแสง หลอด LED สัญญาณไฟข้ามถนนสีเขียว 5,600 แคนเดลลา/ตารางเมตร

– แรงดันไฟขาเข้า 130-260 VAC. 50 Hz

– กำลังไฟฟ้า 15 วัตต์

– อุณหภูมิ –20 องศา ถึง 70 องศาเซลเซียส