เครื่องกั้นทางเข้าออก กับ บัตร RFID ทำงานอย่างไร

การทำงานของ เครื่องกั้นทางเข้าออก กับ บัตร RFID

หลักการทำงานของระบบ RFID กับ เครื่องกั้นทางเข้าออก คือ อุปกรณ์อ่านค่าจะส่งคลื่นวิทยุมาเพื่อรับและอ่านค่าจากขดลวดที่อยู่ภายในบัตร หรือ อุปกรณ์ลักษณะอื่น ๆ ทำให้ไม่ต้องมีการรูดหรือเสียบบัตรอีกต่อไป รวมถึงบางรุ่นนั้นไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับตัวเครื่องอ่านอีกด้วย ( Contact-Less ) เพียงนำอุปกรณ์ไปไว้ในระยะ 3 – 6 เซนติเมตร ก็สามารถอ่านได้ทันที

เครื่องกั้นทางเข้าออก

ซึ่งเครื่องกั้นทางเข้าออกจะมีตัวรับค่าติดตั้งอยู่ด้วย เพียงแค่ผู้ที่ต้องการเข้า-ออกสถานที่นั้น ๆ นำบัตรที่มีอยู่นั้นไปแตะกับเครื่องกั้นทางเข้าออกนั้น ๆ  จากนั้นระบบจะอ่านค่าและตรวจสอบความถูกต้อง แล้วสั่งงานไปที่ปีกหรือแขนของเครื่องกั้นนั้น ให้เปิดออก และปิดลงเมื่อมีการผ่านเข้าไปแล้วนั่นเอง

ระบบคิวอัตโนมัติ คืออะไร อะไรคือ ระบบคิวอัตโนมัติ

ระบบคิวอัตโนมัติ คือ

ระบบคิวอัตโนมัติ (Queuing Management System) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับระบบงานที่มีผู้ใช้จำนวนมาก โดยระบบเป็นตัวจัดลำคิวให้แก่ผู้ที่เข้ามาใช้งานในองค์กรหรือหน่วยงาน เพื่ออำนวยความสะดวก อีกทั้งยังรวดเร็ว เป็นระเบียบ ทันสมัยและสามารถลดต้นทุนให้กับหน่วยงานดังกล่าว นอกจากนี้ระบบยังสามารถเก็บรวบรวมสถิติการใช้งานและรายงานข้อมูลการใช้งานได้อีกด้วย โดยมีอุปกรณ์หลายชนิดที่ต้องมาประกอบให้ระบบคิวสมบรูณ์ หนึ่งในนั้นคือ เครื่องกดบัตรคิว หรือ ตู้กดบัตรคิว ซึ่งจะคอยออกบัตรที่เป็นตัวเลขให้แก่ผู้ใช้บริการ

ระบบคิวอัตโนมัติ

นอกจากนี้ระบบไร้สายยังสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งการติดตั้งได้อย่างอิสระ เพื่อความสวยงามและความสะดวกสะบายแก่ผู้รับบริการ เช่น สามารถนำออกมาติดต้องนอกพื้นที่บริการเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้มา รับบริการ และสิ่งสำคัญในระบบบัตรคิวที่เป็นจุดเด่นในระบบของเรา คือการทำงานระบบมัลติคีออส โมดูล เซอร์วิส นั่นคือเซิร์ฟเวอร์กลางสามารถทำงานร่วมกับเครื่องกดบัตรคิวได้พร้อมกันสูง สุด 5 เครื่อง เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการได้อย่างสูงสุด

ระบบคิวอัตโนมัติ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในการทำงานของระบบต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ระบบคิวอัตโนมัติสำหรับธนาคาร , โรงพยาบาล , คลินิก เป็นต้น ซึ่งระบบคิวอัตโนมัตินั้นเป็นระบบที่เหมาะกับสถานที่ที่มีคนใช้งานมาก ๆ นั่นเอง

สถานที่ที่เหมาะกับ ระบบเพจเจอร์ เรียกคิว มีที่ใดบ้าง

    ระบบเพจเจอร์ เรียกคิว นี้โดยส่วนใหญ่จะใช้ในร้านกาแฟ หรือ ร้านอาหาร หรือ สถานที่ที่มีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก การทำงานของระบบนั้น ( ขอยกตัวอย่างการใช้งานในร้านอาหาร ) คือ เมื่ออาหาร หรือ สินค้าที่ลูกค้าต้องการเสร็จแล้ว พนักงานจะกดเลขเครื่องรับเพื่อส่งสัญญาณให้ลูกค้าได้ทราบ โดยตัวรับนั้นลูกค้าจะได้เมื่อสั่งสินค้า และ สามารถไปนั่งรอที่ใดในบริเวณนั้นก็ได้ ทำให้ลูกค้าไม่จำเป็นต้องยื่นรอให้ลำบาก โดยเครื่องรับสัญญาณนั้นจะส่งสัญญาณ เป็นเสียง หรือ ไฟ หรือ สั่น นั่นเอง ซึ่งระบบเพจเจอร์ เรียกคิวนั้นจะประกอบไปด้วย ตัวส่งสัญญาณ และ ตัวรับสัญญาณแบบไร้สาย

สถานที่ที่เหมาะกับ ระบบเพจเจอร์ เรียกคิว

ระบบเพจเจอร์ เรียกคิว

– สถานพยาบาล เช่น คลินิกเสริมความงาม , คลินิกรักษาฟัน ฯลฯ

– ร้านกาแฟ / ไอศกรีม / เบเกอรี่

– ร้านอาหารที่ให้บริการตัวเอง เช่น ฟู้ดคอร์ท ฯลฯ

– โชว์รูม ศูนย์บริการรถยนต์ คาร์แคร์ ล้างรถ

– คลินิกความงาม สปา ร้านนวด ร้านทำผม ร้านทำเล็บ

ระบบทาบบัตรกับ เครื่องกั้นคน มีการทำงานอย่างไร

   เครื่องกั้นคน เป็นเครื่องสำหรับกั้นทางเข้า-ออก สำหรับจำกัดสิทธิ์ในการเข้า-ออกสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งเครื่องกั้นคนนั้นสามารถทำงานร่วมกับระบบอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ระบบสแกนลายนิ้วมือ , ระบบสแกนใบหน้า เป็นต้น และอีกระบบคือ ระบบทาบบัตร เรามาดูกันว่าระบบทาบบัตรนั้นมีหลักการทำงานกับเครื่องกั้นคนอย่างไร

หลักการทำงานของระบบทาบบัตรกับ เครื่องกั้นคน

เครื่องกั้นคน

     ระบบทาบบัตรนั้น จะเริ่มด้วยการให้ผู็ที่ต้องการผ่านเข้าออกนั้นนำบัตรไปทาบกับเครื่องกั้นคน เมื่อเรานำบัตรไปทาบหน้าเครื่องอ่านบัตร (Card Reader) เครื่องอ่านบัตรจะส่งสัญญาณวิทยุ ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าอ่อนๆ ออกมาจากขดลวดซึ้่งทำหน้าที่เป็นสายอากาศ จากนั้นบัตร RFID ที่เรามักใช้สำหรับงาน Access Control ซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้งานกันอยู่ใน 2 ย่านความถี่ได้แก่ 125 kHz (Proximity Card) และ 13.75 mHz (Mifare Card) ภายในจะมีขดลวดเล็กพันเป็นวงและเชื่องต่อเข้ากับ Chip ซึ่งถูกฝังอยู่ภายในตัวบัตร (RFID Card) เมื่อบัตรถูกนำไปใกล้รัศมีที่สามารถรับสัญญาณไฟฟ้าอ่อนๆ จากเครื่องอ่านบัตร บัตรจะได้รับกระแสไฟฟ้านำเหนี่ยว ทำให้เกิดเป็นพลังงาน และส่งกลับข้อมูลออกไปยังเครื่องอ่านบัตร เครื่องอ่านบัตรก็จะทำการแปลรหัสที่ได้ออกมาและตรวจสอบ ว่ารหัสนี้มีสิทธิในการผ่านเข้าออกหรือไม่ ถ้ามีเครื่องอ่านบัตรก็จะทำการสั่งให้ชุด Relay ทำงานตัดต่อวงจรไฟฟ้าที่ไปเลี้ยงชุดกลอนล๊อค ทำให้ประตูถูกปลดล๊อคนั้นเอง

หมุดถนนสะท้อนแสง มีประเภทใดบ้าง

   หมุดถนนสะท้อนแสง เป็นอุปกรณ์จราจรประเภทหนึ่ง ที่ใช้กันอยู่ตามท้องถนนนั่นเอง ซึ่งก็มี 2 รูปแบบ คือ หมุดถนนสะท้อนแสงแบบมีเดือย และ  หมุดถนนสะท้อนแสงแบบไม่มีเดือย นั่นเองไปดูกันว่าทั้ง 2 แบบนั้นมีลักษณะอย่างไรกันบ้าง

ประเภทของ หมุดถนนสะท้อนแสง

หมุดถนนสะท้อนแสง

– หมุดถนนสะท้อนแสง โซล่าเซลล์สี่เหลี่ยม มีเดือย คือ หมุดสะท้อนแสงโซล่าเซลล์ มีสีขาว เหลือง แดง และน้ำเงิน รับน้ำหนักได้มากกว่า 20 ตัน ผลิตจากอลูมิเนียมอัลลอยด์ เดือยใหญ่ ติดตั้งแน่น คงทน เหมาะกับถนนที่มีรถขับผ่านเยอะ

– หมุดถนนสะท้อนแสง โซล่าเซลล์สี่เหลี่ยม ไม่มีเดือย คือ หมุดสะท้อนแสงโซล่าเซลล์ มีสีขาว เหลือง แดง และน้ำเงิน สินค้ามีในสต๊อคไม่ต้องรอ รับน้ำหนักได้มากกว่า 20 ตันผลิตจากอลูมินัมอัลลอยด์ สามารถใช้กาวอีพ็อกซี่ติดตั้งโดยไม่ต้องเจาะพื้นถนน หรือพื้นที่ติดตั้ง หรือเพิ่มการยึดติดด้วยน็อต 2 ตัวด้านข้าง ติดตั้งง่ายได้ด้วยตัวเอง หมุดสะท้อนแสงโซล่าเซลล์สี่เหลี่ยมไม่มีเดือยจะมีขนาด 103x103x22 มิลลิเมตร และมีน้ำหนัก 320กรัม

ความเป็นมาของ สัญญาณไฟจราจร เป็นอย่างไร

สัญญาณไฟจราจร นั้นก็คือ สัญญาณที่บังคับให้รถที่ขับขี่อยู่นั้นปฏิบัติตาม เพื่อให้การใช้รถใช้ถนนเป็นระเบียบมากขึ้น และ ช่วยในการลดอุบัติเหตุอีกด้วย ซึ่ง ไฟจราจร นั้นก็มีประวัติความเป็นมาเช่นกัน เป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันเลย

ความเป็นมาของ สัญญาณไฟจราจร

ไฟจราจร

สัญญาณไฟจราจรกำเนิดเกิดขึ้นแห่งแรกที่ประเทศอังกฤษ ในปี 1868 เกิดขึ้นก่อนที่ผู้คนจะรู้จักกับรถที่ใช้กับเครื่องยนต์เสียอีก โดยผลงานเป็นของนักวิศวกรชาวอักฤษ นามว่า เจ.พี ไนต์ จุดประสงค์ของ ไนต์ คือการควบคุมการสัญจรของรถม้า และ ผู้คนเดินไปมาตามสีแยก ไฟจราจรจะดูแปลกตาหากเทียบกับปัจจุบัน

ต่อมาสัญญาณไฟจราจรได้มีการพัฒนาเรื่อยๆมากระทั่ง ไฟเขียว-ไฟแดง แบบใช้พลังงานไฟฟ้าแห่งแรกเกิดขึ้นที่เมือง ซอลต์เลก ซิตี้ รัฐยูท่าห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี คศ.1912 โดยพนักงานตำรวจ นามว่า เลสเตอร์ ไวร์ เป็นผู้ผลิตขึ้น

ในช่วงแรกจะมีแค่ ไฟเขียว-ไฟแดงเท่านั้น จนในปี คศ. 1920 วิลเลี่ยม พอตต์ นายตำรวจเมือง ดีทรอยต์ ได้ออกแบบสัญญาไฟอีกสีหนึ่งขึ้นมา คือสีเหลืองเพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ขับขี่ระวังและชะลอตัวก่อนหยุด หรือ ออกตัว นั่นเอง และอีกไม่กี่ปี สัญญาณไฟจราจรแบบอัตโนมัติก็ถูกผลิตขึ้นโดย การ์แรตต์ มอร์แกน ซึ่งนำมาใช้เป็นครั้งแรกในเมืองเคลฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ก่อนที่จะแพร่หลายทั่วโลกและใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

ระบบซอฟแวร์ของ ตู้ Kiosk ทำงานอย่างไร

    ตู้ Kiosk หรือก็คือ ป้ายโฆษณาดิจิตอล นั่นเอง ซึ่งเราจะพบเห็นได้ตามห้างสรรพสินค้ามากมาย แน่นอนว่าก็ใช้เป็นป้ายสำหรับโฆษณาภาพ หรือ วิดีโอต่าง ๆ ด้วย โดยจะมีการแสดงภาพด้วยสีที่คมชัดทำให้ดูสวยงามและทันสมัยมากขึ้นนั่นเอง

การทำงานของระบบซอฟแวร์สำหรับ ตู้ Kiosk

ตู้ Kiosk ตู้คีออส

    การทำงานของระบบซอฟแวร์สำหรับ ตู้ Kiosk คือ การใช้หน้าจอ หรือ ซุ้มการแสดงเนื้อหาแบบไดนามิก มีเนื้อหาเช่นเดียวกับอุปกรณ์แสดงผลของตัวเองที่สามารถปรับแต่งที่จะให้ตรงกับความคาดหวังของคุณช่วยให้คุณสามารถสร้าง และ ออกแบบหน้าจอตู้ที่เริ่มต้นด้วยการจัดการเนื้อหาได้ง่ายการจัดตารางเวลาและลงท้ายด้วยการกระจายเนื้อหา และ การตรวจสอบของซุ้ม หรือ สถานีเล่น เป็นโมดูลป้ายใหม่ที่ไม่ซ้ำกันซึ่งจะช่วยให้การสร้างที่เรียบง่ายของเมนูหน้าจอสัมผัสที่มีคุณภาพสูง และ การทำงานของตู้ , การสร้างภาพเคลื่อนไหวเนื้อหาจากแม่แบบป้ายดิจิตอล และ การจัดการของรายการเพลงจากเว็บเบราว์เซอร์ในนาที ทำให้ง่ายต่อการสร้าง way-finding แบบบูรณาการ หรือ สัมผัสหน้าจอตู้ข้อมูลที่ช่วยให้คุณในการสื่อสารข้อมูลสำคัญ หรือ ข้อมูลไปยังผู้เข้าชม และ พนักงานแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับกิจกรรมหรือแสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์เช่นการจราจร , ข่าว , สภาพอากาศ , เรื่องไม่สำคัญ และ อื่น ๆ

ฟังก์ชั่นการป้องกันของ ประตูกั้นแบบบานสวิง มีอะไรบ้าง

ประตูกั้นแบบบานสวิง เป็นประตูกั้นทางเข้า-ออกที่มีระบบป้องกันในการใช้งานเหมือนกับประตูอัตโนมัติทั่ว ๆ ไป ซึ่งระบบป้องกันของ ประตูกั้นแบบบานสวิง นั้นมีด้วยกันหลักๆ อยู่ 2 แบบ มีอะไรบ้างนั้นไปดูกัน

ฟังก์ชั่นการป้องกันของ ประตูกั้นแบบบานสวิง

ประตูกั้นแบบบานสวิง

– ฟังก์ชั่นการป้องกันตนเอง : ประตูจะไม่แกว่งไปแกว่งมา โดยมันจะทำการล๊อคอัตโนมัติ เมื่อมันอยู่ในองศาที่ถูกต้อง โดยสามารถปรับให้ประตูปรับให้เปิดได้ทั้งทิศทางเดียว และสองทิศทางขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเอง
– ฟังก์ชั่นการป้องกันด้วยแสงอินฟาเรดหรือเซ็นเซอร์ : โดยระบบสามารถตรวจสอบสถานของคนเดินผ่านเข้าออกประตูได้ โดยเมื่อมีคนอยู่ในช่องผ่านเข้าออกยังไม่เดินผ่านช่องเข้าออกจะมีเซ็นเซอร์ ในการป้องกันการหนีบ หรือการปิดทับคนเข้าออกได้

ประตูหมุนสามขา ผลิตมาจากวัสดุอะไร

ประตูหมุนสามขา เป็นประตูกั้นคนบริเวณทางเข้าออก ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มีลักษณะเป็นตัวถัง และ มีแขนกั้นยื่นออกมาสามขา เพื่อกั้นทางไม่ให้คนข้ามไปก่อนได้รับอนุญาต นั่นเอง ไปดูกันว่าประตูกั้นคนชนิดนี้นั้นผลิตมาจากอะไร

วัสดุในการผลิต ประตูหมุนสามขา

ประตูหมุนสามขา

ประตูหมุนสามขา หรือ Tripod Turnstiles หรือ เครื่องกั้นสามขานั้น ผลิตมาจาก stainless steel 304 ซึ่งมีมาตรฐานในการป้องกัน IP44 สามารถติดตั้งในร่มได้ และ ติดตั้งกลางแจ้งได้ เนื่องจากผลิตมาจากสแตนเลส จึงมีความทนทานและป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี

ประตูปีกผีเสื้อ (FLAP BARRIER) เหมาะกับสถานที่ใดบ้าง

ประตูปีกผีเสื้อ  (FLAP BARRIER) นั้นเป็นประตูกั้นคนบริเวณทางเข้า-ออกชนิดหนึ่ง ซึ่งประตูกั้นคนนั้นก็มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบ เครื่องกั้นสามขา ที่นิยมติดตั้งบริเวณ ท่าเรือข้ามฟาก หรือ ทางเข้า-ออกสถานที่ต่าง ๆ หรือ ประตูกั้นคนแบบบานเลื่อน ที่นิยมติดตั้งบริเวณทางเข้า-ออกสำนักงานในเมืองใหญ่ เป็นต้น ประตูปีผีเสื้อนั้นมีลักษณะเป็นตัวถังที่ผลิตจากสแตนเลส แล้วมีปีกที่โผล่ออกมาเพื่อกั้นทางไม่ให้คนเข้า-ออกก่อนได้รับอนุญาต หรือ ได้รับการตรวจสอบสิทธิ์ โดยระบบประตูปีกผีเสื้อนั้น สามารถทำงานร่วมกับ ระบบสแกนลายนิ้วมือ , ระบบสแกนใบหน้า , ระบบหยอดเหรียญ และ ระบบสแกนบัตร

ประตูปีกผีเสื้อ

สถานที่ที่เหมาะจะติดตั้ง ประตูปีกผีเสื้อ (FLAP BARRIER)

– โรงงาน
– ศูนย์คอมพิวเตอร์
– ห้องสมุด
– มหาวิทยาลัย
– อาคารแสดงสินค้า
– สถานีรถไฟฟ้า
– อาคารสถานที่ต่างๆ
– ฯลฯ