อุปกรณ์สำหรับประตูอัตโนมัติ มีอะไรบ้าง

ประตูอัตโนมัติ มีหลายรูปแบบ ทั้ง ประตูบานเลื่อนอัตโนมัติ , ประตูรีโมท เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วก็มักจะมีอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละชนิดนั้นก็จะมีอุปกรณ์ต่างกันไป มีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย

อุปกรณ์สำหรับประตูอัตโนมัติ

ประตูอัตโนมัติ ประตูรีโมท

– Microwave-sensor คือ เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุ หรือ เซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว เพื่อสั่งเปิด – ปิดประตูอัตโนมัติ  ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้นั้น สามารถปรับองศาการตรวจจับได้ ตามความต้องการ และ ความเหมาะสม
– Stopper   คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ ตั้งระยะการเลื่อนเปิด และ ปิด ของ ประตูอัตโนมัติ
– Controller  คือ ชุดควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของ ประตูอัตโนมัติ
– Timing Belt   คือ อุปกรณ์สำหรับประตูบานเลื่อนอัตโนมัติ เรียกว่า ” สายพาน ” มีไว้สำหรับดึงเลื่อนบานประตูให้เปิดออก
– Brush-less DC-Motor  คือ มอเตอร์สำหรับขับเคลื่อนประตูต่าง ๆ  หรือ การเลื่อนเปิด – ปิด ของประตูอัตโนมัติ
– Door-hanger-Roller   คือ อุปกรณ์สำหรับจับยึดบานประตูของเดิม
– Remote Control   รีโมทควบคุมสั่งงาน ประตูอัตโนมัติ ประเภท ประตูรีโมท หรือ ประตูรั้วรีโมท สั่งได้ทั้งการปิด และ เปิด , สั่งเปิดประตูครึ่งเดียว , สั่งเปิดประตูค้าง
– Belt Tensionner   คือ อุปกรณ์ปรับความตึงของ Timing Belt

ประตูรั้วบานสลับ เป็นอย่างไร

ในปัจจุบันหลาย ๆ  บ้าน หลายๆครัวเรือน ต้องการความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันในเรื่องต่าง ๆ  สำหรับประตูรั้วบ้านเอง ก็ได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ขึ้นมาให้มีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกให้กับคนใช้งานมากขึ้น เช่น ประตูรีโมท ที่เพียงแค่สั่งงานผ่านรีโมทคอนโทรลก็สามารถทำให้ประตูรั้วนั้นเปิดได้อัตโนมัติ เป็นต้น ซึ่งประตูรั้วบ้านนั้นก็มีหลายประเภทให้เลือกใช้ แล้วแต่ความต้องการของเจ้าของบ้าน และ ความเหมาะสมในการใช้งานด้วย

ประตูรั้วบานสลับ คือ

ประตูรั้ว ประตูรีโมท

ประตูรั้วบานสลับ  เป็นประตูที่เหมาะกับหน้าบ้าน 5 เมตรขึ้นไป อย่างเช่น ทาวน์เฮ้าส์, ทาวน์โฮม มีการเปิด-ปิด คล้ายกับบานเลื่อนแต่เป็น 2 บาน ซ้าย และ ขวา ข้อเด่นของประตูเช่นนี้ คือ สามารถเปิดได้ 2 ด้าน สามารถเก็บประตูได้เรียบร้อย และ สามารถเจาะประตูเล็กสำหรับเดินเข้าออก ยังสามารถติดมอเตอร์รีโมทแบบบานเลื่อนให้เป็น ประตูรีโมท แบบอัตโนมัติได้ เพื่อการใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น

การดูแลรักษารีโมทคอนโทรล ต้องทำอย่างไรบ้าง

การดูแลรักษารีโมทคอนโทรล

ประตูรีโมท รีโมทคอนโทรล

– ไม่ควรวาง หรือ เก็บรีโมทไว้ในที่มีอากาศร้อน เพราะ อาจจะทำให้ระบบวงจรภายในเสียได้

– ควรเปลี่ยนถ่านในตัวรีโมททุก 6 – 8 เดือน โดยประมาณ เพื่อให้รีโมทพร้อมใช้งานตลอดเวลานั่นเอง

– ไม่ควรกดรีโมทแช่ไว้เป็นเวลานาน หรือ ติดต่อกันหลายครั้ง เพราะ จะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นลง ทำให้ ต้องเปลี่ยนถ่าน หรือ แบตเตอรี่บ่อยขึ้นก็ได้

– หลีกเลี่ยง รีโมทคอนโทรลเปียกน้ำ หรือ สัมผัสน้ำโดยตรง เนื่องด้วย รีโมทคอนโทรลนั้น มีระบบวงจรไฟฟ้าอยู่ภายใน อาจจะทำให้ ระบบนั้นเกิดการช็อต และ ไม่สามารถใช้งานได้อีก

– ไม่ควรกดรีโมท ในขณะที่มีเด็กเล่นอยู่ใกล้ประตู เพราะ อาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น ก่อนสั่งเปิด ประตูรีโมท นั้น ก็ควรตรวจเช็คให้ดีก่อน

กระจกลามิเนตมีคุณสมบัติอย่างไร

กระจกลามิเนต ( Laminate Glass ) เป็นกระจกนิรภัยอีกชนิดหนึ่งที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นผลิตโดยการใช้ฟิล์มคั่นระหว่างชั้นของตัวกระจก ซึ่งเมื่อกระจกแตก เศษกระจกจะไม่ร่วงล่นลงพื้น อันก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานในบริเวณนั้น ๆ ได้ โดยกระจกลามิเนตชนิดนี้ นอกจากแตกแล้วไม่หล่นลงพื้นแล้ว ยังสามารถลดความดังของเสียงได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสงบ ในการใช้ห้องที่เป็นส่วนตัว นอกจากนั้นแล้ว ลามิเนตยังช่วยป้องกันแสงยูวีได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ถ้าหากใช้เจ้ากระจกนี้ร่วมกับกับฟิล์มชนิดพิเศษที่ช่วยการป้องกันความร้อน ยิ่งทำให้เพิ่มความสามารถในการป้องกันแสงได้เป็นอย่างดียิ่งขึ้น ทำให้หมดปัญหาอุณหภูมิที่กำลังร้อนขึ้นในปัจจุบัน นี่จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ต้องการ ที่จะสร้าง ประตูอัตโนมัติ ที่ได้ทั้งความสวยงาม และความทันสมัย ทั้งตัวผู้ใช้ และ ผู้ที่ได้พบเห็น เหมาะทั้งสำหรับตกแต่งภายใน และ ภายนอกอาคารเลยทีเดียว

กระจกลามิเนต ประตูอัตโนมัติ

คุณสมบัติของ กระจกลามิเนต

– เป็นกระจกที่มีความปลอดภัยจากการถูกกระแทก หรือ ชนจนทำให้แตกแต่ไม่หลุดออก หรือตกลงพื้น เพราะมีฟิล์มยึดไว้ไม่ให้หลุดออกจากกัน
– สามารถป้องกันการทะลุจากการแตก หรือ การบุกรุกจากภายใน และ ภายนอกของตัวอาคารได้ทีช่วยลดเสียงรบกวนจากทั้งภายใน และ ภายนอก ยังสามารถลดเสียงก้องได้ดี หรือพูดง่าย ๆ ว่า เก็บเสียงที่มีความได้ดีในระดับหนึ่ง
– ช่วยประหยัดพลังงานในการใช้เครื่องปรับอากาศ เพราะ เป็นกระจกที่ช่วยป้องกันแสงยูวี ในอุณหภูมิห้องที่ไม่สูง

ประตูบานเฟี้ยมมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ประโยชน์ของ ประตูบานเฟี้ยม

ประตูบานเฟี้ยมนั้นแม้จะไม่ ประตูอัตโนมัติ อะไร แต่ก็มีประโยชน์ต่อบ้านเรือนไม้แพ้กัน ซึ่งจะมีประโยชน์อะไรบ้างนั้นไปดูกัน

ประตูบานเฟี้ยม

–  เป็นผนังล่องหน สำหรับห้องที่มีขนาดเล็ก และ ปิดทึบ สามารถใช้ประตูบานเฟี้ยมเป็นผนังด้านหนึ่งเพื่อลดความอึดอัดได้  ซึ่งประตูนั้นสามารถเปิดออกกว้างจนเหมือนกับไม่มีผนังได้ เป็นวิธีสร้างความปลอดโปร่ง และ ความน่าสนใจให้กับห้องนั้น ๆ
– ซ่อนพื้นที่ที่ไม่สบายตาได้  ซึ่งเป็นการใช้ประตูแบบบานเฟี้ยมสำหรับซ่อนพื้นที่บางตำแหน่งไม่ให้รกสายตา และ ดูเป็นสัดส่วนมากขึ้นนั่นเอง  ไม่ว่าจะพื้นที่ทำงาน หรือ เฟอร์นิเจอร์เทอะทะอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน
– แบ่งพื้นที่แบบไม่อึดอัด ประตูชนิดนี้สามรถใช้เป็นที่กั้นห้องได้ แทนที่จะใช้ผนังแข็งทึบ ซึ่งก็สามารถเปิดกว้าง เพื่อสร้างพื้นที่ให้บ้านดูไม่อึดอัดเกินไปด้วย ในขณะที่เมื่อต้องการความเป็นสัดส่วน ก็แค่เลื่อนบานประตูมาปิดเท่านั้น ก็จะได้พื้นที่ส่วนตัวแยกกันอย่างชัดเจน
– ช่วยในการตกแต่งบ้าน โดยทำด้วยการแมตให้เข้ากับเพดาน หรือ พื้น เช่น ใช้ประตูแบบบานเฟี้ยมกรอบไม้ แทนที่จะใช้กรอบอะลูมิเนียม เพื่อให้เข้ากับพื้นไม้ เป็นวิธีสร้างความสวยงาม และ กลมกลืนควบคู่ไปกับประโยชน์ในการใช้สอยด้วยนั่นเอง
– เชื่อมโยงกับโลกภายนอก หรือ เชื่อมโยงกับพื้นที่นอกตัวบ้าน ด้วยการติดตั้งประตูชนิดนี้  ให้เสมือนกำลังอยู่ในพื้นที่ Out door หรือ พื้นที่นอกตัวบ้าน แบบที่ประตูธรรมดาไม่สามารถทำได้ ตอบโจทย์คนที่ต้องการพักผ่อน ที่เมื่อต้องการความสงบปลอดภัยก็แค่เลื่อนปิดประตูได้ง่าย ๆ

การเลือกซื้อประตูอัตโนมัติประเภทประตูรีโมท เลือกอย่างไรบ้าง

ปัจจุบันนั้นประตูรีโมทนั้นเป็นที่นิยมอย่างมาก ซึ่งในหลายๆบ้าน หลายอาคาร เริ่มที่จะเลือกใช้ประตูอัตโนมัติประเภทประตูรีโมทกันมากขึ้นด้วย ดังนั้นหากสนใจที่จะติดตั้งนั้น ก็จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆด้วย มีอะไรบ้างไปดูกัน

การเลือกประตูอัตโนมัติประเภทประตูรีโมทที่ได้คุณภาพ

แขนกั้นรถยนต์

– เลือกที่คุณภาพแหล่งผลิต ควรมองแหล่งผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่มีแหล่งการผลิตมากขึ้นทั้งจากจีน มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตที่มีต้นทุนต่ำ ดังนั้นราคา และคุณภาพจะอยู่ในระดับปานกลาง แต่หากเป็นอิตาลีที่เป็นต้นแบบ จึงมีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน แต่จะมีราคาที่สูง พร้อมรองรับคุณภาพตามไปด้วย
– เลือกที่ควบคุมด้วยรีโมท รีโมทถือเป็นคุณสมบัติหลักของ ประตูรีโมท ในการควบคุมการเปิด – ปิดนั้น เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ติดตั้งมากขึ้น โดยเฉพาะประตูที่ติดตั้งตามบ้านเรือน อีกทั้งยังเพิ่มความปลอดภัยในการเลื่อนประตูที่มีขนาดใหญ่ ที่ไม่ต้องออกแรงปิดด้วยตัวเอง
– เลือกที่ขนาดกำลังมอเตอร์ ควรเลือกที่ขนาดกำลังมอเตอร์สำหรับ ประตูรีโมทอัตโนมัติ จะต้องมีความเหมาะสมกับน้ำหนักของประตูบ้าน โดยพิจารณาจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตประตู เพื่อจะได้เลือกขนาดกำลังมอเตอร์ให้สามารถรับน้ำหนักของประตูได้ต่างกันไป หากเลือกขนาดมอเตอร์ที่เหมาะกับน้ำหนักของประตู เพื่อจะได้ไม่เกิดความเสียหาย

โหมดการทำงานของระบบประตูอัตโนมัติ มีอะไรบ้าง

ประตูอัตโนมัติ นั้นหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่ามี โหมดในการทำงานด้วย ซึ่งก็มีโหมดการทำงานให้เลือกใช้อยู่ไม่กี่โหมดมากนัก ไปทำความรู้จักกันสักหน่อยว่ามีโหมดการทำงานใดให้เลือกใช้บ้าง

โหมดการทำงานของประตูอัตโนมัติ

ประตูอัตโนมัติ

– แบบอัตโนมัติ ( Automatic Mode )
โหมดการทำงานแบบอัตโนมัตินั้น เป็นการทำงานโดยการกดปุ่มรีโมทส่งสัญญาณ เพื่อสั่งเปิดประตูอัตโนมัติ และ ประตูจะปิดกลับเองโดยอัตโนมัติตามเวลาที่ได้ตั้งค่าไว้ ท่านสามารถตั้งเวลาได้หลายระดับตามความพอใจ ในการใช้งานโหมด Automatic Mode นี้ขอแนะนำให้ ติดตั้งอุปกรณ์เสริ ม อย่างเช่น Photo Cell Sensor ใช้งานควบคู่กับระบบด้วย เพื่อให้การทำงานของระบบทำงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
– แบบกึ่งอัตโนมัติ ( Semi-Automatic Mode )
โหมดการทำงานแบบกึ่งอัตโนมัตินั้น เป็นการทำงานโดยการกดปุ่มรีโมทส่งสัญญาณไปเปิดประตูอัตโนมัติ เช่นกัน แต่ในการปิดประตูอัตโนมัตินั้น จะต้องกดรีโมทเพื่อส่งสัญญาณไปปิดประตูซ้ำอีกครั้ง โหมดการทำงานนี้เป็นระบบการทำงานที่ใช้เป็นมาตรฐานการใช้งาน ทั่วๆไปด้วย
– แบบ CONDOMINIUM ( Condominium Mode )
โหมดการทำงานแบบ Condominium นั้น เป็นระบบที่เมื่อกดปุ่มรีโมทส่งสัญญาณไปเพื่อเปิดประตูแล้ว จะต้องรอให้ประตูเคลื่อนที่เปิดออกไปให้สุดเสียก่อนทุกครั้งจึงจะสั่งปิดได้ ซึ่งระบบแบบนี้นั้นไม่สามารถสั่งหยุดประตูได้กลางครัน ( เฉพาะกรณีเปิดประตูเท่านั้น )

การทำงานของประตูรีโมทแต่ละรูปแบบเป็นอย่างไร

ประตูรีโมท นั้นมีการทำงานโดยการสั่งการผ่านรีโมทคอนโทล ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น คีย์การ์ด หรือ เครื่องสแกนต่าง ๆ เป็นต้น ประตูรีโมทนั้นจะช่วยทำให้มีความสะดวกในการเปิด-ปิดประตูได้มากยิ่งขึ้น เป็นประตูที่ช่วยในการลดแรงได้อย่างดี ลดความเสี่ยงในการถูกขโมยทรัพย์สินในระหว่างที่ลงจากรถไปเปิด-ปิดประตูได้อีกด้วย

ประตูรีโมทมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

ประตูรีโมท

– ประตูรีโมทแบบบานเลื่อน ด้วยตัวประตูรีโมทจะวิ่งอยู่บนล้อไปตามรางเหล็กเพลาที่วางติดกับพื้น ถือเป็นการเปิดแบบเลื่อนในทิศทางที่ขนานกับพื้นโลก และการเลื่อนเปิดแบบประยุกต์ต่างๆ โดยต้องมีบริเวณหน้าบ้านที่มีความกว้างกว้าง พอที่จะเก็บประตูทั้งบานได้
– ประตูรีโมทแบบบานสวิง เป็นบานประตูแบบแยก 2 บาน และ เปิด-ปิดในลักษณะของบานสวิง โดยใหญ่มักกับใช้กับประตูหน้าบ้านที่ไม่ค่อยมีพื้นที่ด้านกว้างมากนัก ประตู แต่มีด้านความลึกมากพอสมควร โดยแต่ละบานจะถูกยึดติดกับหัวเสาของทั้งสองด้าน ซึ่งมีความลึกพอที่สามารถเก็บบานประตูที่ไม่กีดขวางการเข้า-ออก หรือการจอดรถยนต์

ประตูรีโมท มีรูปแบบใดบ้าง

ประตูรีโมทเลื่อนอัตโนมัติ หรือ ประตูรีโมทนั้น เป็นประตูอัตโนมัติประเภทหนึ่ง ซึ่งเราจะพบเห็นได้ในหลายๆที่ในตอนนี้ เพราะ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ประตูรีโมท นี้มีด้วยกันกันอยู่ 2 รูปแบบ
รูปแบบของ ประตูรีโมท

ประตูรีโมท

1.ประตูรีโมท แบบบานเลื่อน คือ ประตูที่เลื่อนไปทางด้านข้างนั่นเอง ใช้รีโมทในการออกคำสั่งให้ประตูเปิดไปทางด้านข้าง ซึ่งสถานที่ที่จะติดตั้งประตูรีโมทแบบบานเลื่อนนี้จะต้องมีพื้นที่ด้านกว้างมากพอให้ประตูสามารถเลื่อนเปิดได้เต็มที่

2.ประตูรีโมทแบบบานสวิง คือ ประตูที่เปิดออกจากตรงกลาง ซึ่งเมื่อรับคำสั่งจากประตูให้เปิดออก ประตูจะเปิดเป็น 2 บานประตูแยกออกจากกัน ซึ่งสถานที่ที่จะเลือกใช้ประตูรีโมทแบบบานสวิงนั้น จะต้องมีพื้นที่มากพอสำหรับให้ประตูสวิงเปิดออกไป โดยจะต้องมีความลึกมากพอจะให้ประตูเปิดได้เต็มที่

ประตูรีโมท เกิดขึ้นเมื่อไหร่

ประตูรีโมทนั้น เป็นประตูอัตโนมัติ ประเภท ประตูรั้ว ซึ่งมีการพัฒนาให้มีระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งาน โดยการสั่งงานนั้นจะสั่งผ่านรีโมท หลายบ้านอาจจะติดตั้งกันอยู่บ้าง แล้วรู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้ว ประตูรีโมทนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว ไปลองดูกันเลย

ประวัติความเป็นมาของประตูรีโมท

ประตูรีโมท

การเรียกว่า “ ประตูรีโมท ” นี้มีที่มาจากการสั่งงานระบบประตูไฟฟ้าด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า “ รีโมทคอนโทรล (Remote Control Unit) ” ซึ่งคำนี้ได้ รวมถึงลักษณะประตูที่ไม่ใช้อุปกรณ์รีโมทเป็นตัวควบคุม แต่อาจใช้สวิตซ์กด (Push Button Switch) หรือต่อร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติอื่นๆ อีกด้วย

ประตูรีโมทนั้น ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1930 เกิดในงานเหมืองแร่แห่งหนึ่ง ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อป้องกันฝุ่นควันที่จะเกิดจากการขุดเหมืองแร่ ภายหลังเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในกลุ่มวิศวกรเครื่องจักร และพัฒนาจนกระทั่งมีราคาถูกลง แต่ก็ยังคงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามเทคโนโลยีในสมัยนั้น โดยการควบคุมประตูนั้นแต่เดิมใช้เพียงอุปกรณ์ Power Contactor หรือรีเลย์ไฟฟ้ากำลัง และ พัฒนามาใช้ PLC (Programmable Logic Controller) ก่อนจะพัฒนามาเป็น Microcontroller board หรือแผงอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ ในสมัยนั้นการพัฒนาประตูรีโมทมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ทำให้มีราคาค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นผู้ที่จะติดตั้งได้จะมีแต่พวกคนชนชั้นสูงเท่านั้น แต่หลังจากมีการพัฒนาแข่งกันมาเรื่อย ๆ ทำให้สินค้าเริ่มมีมาก ราคาจึงถูกลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้คนชนชั้นอื่น ๆ สามารถติดตั้งได้

ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยของเราเอง ก็เริ่มมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วเช่นกัน โดยเริ่มรู้จัก และมีการติดตั้งใช้งานครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศอิตาลี ประตูรีโมทนั้นเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องด้วยปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นอาคาร คอนโด บ้านจัดสรร โรงแรม มีเกิดขึ้นใหม่ไปทั่วทุกพื้นที่ ทำให้ประตูอัตโนมัติ อย่างประตูรีโมทเป็นที่ต้องการมากขึ้นไปด้วย ประตูรีโมทจึงมีนำเข้ามาใช้งานในเมืองไทยมากขึ้น ขณะเดียวกันคนไทยเองมีการคิดค้น และดำเนินการให้ระบบประตูรีโมทมีความพิเศษให้มีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย